วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)

 ความรู้เกี่ยวกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)
          ประวัติความเป็นมาโซเชียลเน็ตเวิร์ก
 การแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตได้ monumentally ปฏิวัติวิธีที่เราโต้ตอบกับแต่ละอื่น ๆ ตั้งแต่การถือกำเนิดของอีเมล, บูเลทีนระบบคณะกรรมการที่ปัจจุบันเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเทคโนโลยีได้ถูก ผนวกเข้ากับการสื่อสารที่จะกลายเป็นโฟกัสที่โดดเด่นของยุคดิจิตอลใหม่ infographic นี้จะพาคุณผ่านทางประวัติศาสตร์ของเครือข่ายสังคมสถิติเกี่ยวกับการที่เรามี วันนี้และให้เหลือบของที่เราอาจจะมุ่งหน้าไป ในปัจจุบัน โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นสิ่งที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่นและบุคคลที่ต้องการสื่อสาร สัมพันธ์กัน แม้ว่า โซเชียลเน็ตเวิร์ก จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กันในทางบวก แต่จากการศึกษาพบว่าในทางกลับกันโซเชียลเน็ตเวิร์กก็สามารถเป็นสื่อที่ก่อ ให้เกิด อันตรายได้ในเวลาเดียวกัน เรื่องของ Social Network น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับยุคนี้ เพราะมนุษย์ยุคเราๆท่านๆนี้ มีแนวโน้มที่จะมีสายสัมพันธ์ต่อกันตามธรรมชาติลดน้อยลง อันจะเห็นได้จาก พูดคุยกันต่อหน้าน้อยลง, ครอบครัวไม่ค่อยได้ทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากัน, คนบ้านใกล้เรือนเคียงพูดจากันน้อยลงและอาจไม่รู้จักกัน, ญาติสนิทมิตรสหายไปมาหาสู่กันน้อยลง, เพื่อนฝูงที่มีก็เป็นเพื่อนที่ทำงาน หรือเพื่อนร่วมงานเสียส่วนใหญ่ และมักคบกันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายทางกิจการงานธุรกิจเป็นสำคัญ, เพื่อนเก่าสมัยเรียนยังเหลือติดต่อกันอยู่ไม่กี่คนและมีแนวโน้มค่อยๆลดลง ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาพทางสังคมที่ผลักดันให้ต้องดิ้นรนแข่งขันกัน เน้นไปทางวัตถุนิยม จนลืมนึกถึงเรื่องของความสุขทางใจ และสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาดเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ ที่สามารถตอบสนองในการให้คนได้สื่อสารกันง่ายขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ จึงทำให้ โทรศัพท์มือถือ อาจกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบันไปแล้ว (ในประเทศไทยแทบจะมีทุกคนทุกอาชีำพ) และอาจเสริมด้วยอีเมลล์ (E-mail) ในการติดต่อสื่อสารที่ต้องการลายลักษณ์อักษร บันทึกย่อ หรือส่งไฟล์เอกสาร ไฟล์ภาพ ให้กันแทนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แนวโน้มที่การสื่อสารสมัยใหม่ได้เข้ามาทดแทนการสื่อสารแบบดั้งเดิมนี้ เป็นไปอย่างต่อเนื่องดังที่เราทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงความจริงข้อนี้... Social Network

           social network  คือ สังคมของโลกแห่งอินเตอร์เน็ท หรือเรียกว่าสังคมของมนุษย์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเตอร์เน็ท ทางโทรศัพท์ ทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และอื่น ๆ ที่ไร้สายในโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันนี้รูปแบบของเว็บไซต์ที่เป็น โซเชียล เน็ตเวิร์คได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเว็บในรูปแบบของโซเชียล เน็ตเวิร์ค คือ เว็บที่คุณสามารถ “สร้าง” ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนได้ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายจาก เพื่อนสู่เพื่อน ทำให้ติดต่อสื่อสารกันสะดวกมากยิ่งขึ้นแต่ในทางกลับกันก็มีภัยด้านมืดของโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว‘การใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์กที่แพร่หลาย พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียน  นักศึกษา  มีเพียง 4 ใน 100 คน ที่รู้ด้านลบของการใช้ โซเชียล เน็ตเวิร์ก  และรู้ว่าต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง’  เป็นคำกล่าวของ ปริญญา หอมเอนก นักวิชาการและกรรมการและเลขานุการ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ปริญญา มองว่า กระแสโซเชียล เน็ตเวิร์กที่มาแรงมากๆ แต่การเล่นโซเชียล เน็ตเวิร์กกำลังกลายเป็นดาบสองคม   ถ้าใช้ไม่ระวังก็จะเป็นภัยกับตัวเอง  รวมทั้งองค์กร โดยเฉพาะการทวิต หรือ โพสต์ข้อมูลที่อาจเป็นช่องโหว่ให้อาชญากรไซเบอร์  ใช้เป็นข้อมูลในการคุกคามผู้ใช้ได้ง่ายๆ 




แนวโน้มที่
โซเชียลเน็ตเวิร์คกำลังมุ่งไป .....-->>


1. โซเชียลเน็ตเวิร์คกลายเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้เน็ตให้เวลามากที่สุด  ในปี 2011 ที่ผ่านมานี้ กิจกรรมบนโซเชียลเน็ตเวิร์คคิดเป็น 19% หรือประมาณ 1 ใน 5 ของเวลาที่ผู้ใช้เน็ตล็อกอินเข้าสู่โลกออนไลน์ ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มจาก 7% เมื่อปี 2007 ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ส่วนกิจกรรมที่ผู้ใช้เน็ตใช้เวลารองลงมาคือการสื่อสาร (อีเมล+ข้อความสนทนา)




    2. สัดส่วนและพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค แตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละประเทศ ผู้ใช้เน็ตชาวสหรัฐ 98% ใช้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในขณะที่จีนมีเพียง 53% และญี่ปุ่นมีเพียง 58% แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีสัดส่วนผู้ใช้งาน 94% แต่ในภาพรวมแล้ว โซเชียลเน็ตเวิร์คก็เข้าถึงประชากรชาวเน็ตอย่างมาก comScore ได้สำรวจข้อมูลการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คใน 43 ประเทศ ผลคือมี 41 ประเทศที่มีผู้ใช้เน็ตใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเกิน 85%


ประเทศที่ผู้ใช้เน็ตใช้เวลากับโซเชียลเน็ตเวิร์คมากที่สุดคืออิสราเอล 11.1 ชั่วโมง ตามด้วยอาร์เจนตินาและรัสเซีย แต่ถ้าคิดแยกตามภูมิภาคของโลก เอเชียแปซิฟิกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพียง 11% ของเวลาทั้งหมดที่อยู่บนเน็ต ในขณะที่ละตินอเมริกา ตัวเลขนี้สูงถึง 28%  กลุ่มประเทศที่ใช้เวลากับโซเชียลเน็ตเวิร์คน้อยที่สุดคือเอเชียตะวันออก ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยด้านวัฒนธรรมการใช้เน็ต มากกว่าเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางไอที
    3. Facebook เป็นผู้นำสำคัญในทุกๆ เรื่องของโซเชียลเน็ตเวิร์ค ปัจจุบัน Facebook เป็นเครือข่ายเว็บที่มีคนเข้าเป็นอันดับสามของโลก เป็นรองเพียงเว็บในเครือกูเกิลและไมโครซอฟท์เท่านั้น และในปีนี้ Facebook มีผู้ใช้เกินครึ่งของประชากรเน็ตโลกไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้เน็ตใช้งาน Facebook คิดเป็นเวลา 3/4 ของเวลาที่ใช้กับโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกชนิด  ถึงแม้ Facebook จะเป็นผู้นำในโลกโซเชียล แต่ก็ยังมีตลาดบางประเทศที่เจาะไม่เข้าเช่นกัน โดยปี 2010 Facebook เป็นผู้นำใน 30 ประเทศจาก 43 ประเทศที่ comScore เก็บสถิติ แต่ในปี 2011 นี้ Facebook สามารถโค่นผู้นำในแต่ละประเทศลงได้อีก 6 แห่ง เพิ่มจำนวนแชมป์เป็น 36 ประเทศจากทั้งหมด 43 ประเทศ 6 ประเทศที่ถูก Facebook ยึดครองตลาดได้แก่ โปรตุเกส เม็กซิโก เยอรมนี อินเดีย ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์
ประเทศที่ comScore สำรวจที่เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คท้องถิ่นยังสามารถทานกระแสอันไหลบ่าของ Facebook อยู่ได้ มีเหลืออยู่ 7 ประเทศคือ บราซิล จีน ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ซึ่งถ้าดูจากกราฟจะพบว่าสถานการณ์ในบราซิลและโปแลนด์ เว็บท้องถิ่นกำลังจะเพลียงพล้ำให้กับ Facebook เช่นกัน

 4. พลังแห่งไมโครบล็อก ไมโครบล็อกหมายถึงการส่งข้อความขนาดสั้นๆ แบบที่ Twitter ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับ Facebook แต่ก็มีความสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ ทุกวันนี้ Twitter เข้าถึงประชากรเน็ต 1/10 ของโลก และมีอัตราการเติบโตของผู้ใช้ที่ร้อนแรงคือ 59% ในรอบปีที่ผ่านมา จุดที่น่าสนใจคือพลังของการเชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเพื่อนเหมือนกับ Facebook ทำให้ Twitter สามารถสะท้อนความเห็นของชาวโลกต่อเหตุการณ์สำคัญๆ รอบโลก ไม่ว่าจะเป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬา ข่าวการเสียชีวิตของคนดัง หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก นอกจาก Twitter แล้ว โลกยังมีบริการไมโครบล็อกอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในบางประเทศ เช่น Weibo ของจีน หรือ Tumblr ซึ่งมีความสามารถด้านมัลติมีเดียเยอะกว่า Twitter ในหลายด้าน

 

5. ตลาดใหญ่ของโซเชียลเน็ตเวิร์ค คือตลาดนอกสหรัฐอเมริกา เดิมทีโซเชียลเน็ตเวิร์คมักจับกลุ่มตลาดผู้ใช้ในสหรัฐ ตามมาด้วยชาติตะวันตก แต่ในรอบปีหลัง ผู้ใช้กลุ่มใหญ่ของโซเชียลเน็ตเวิร์ครายใหญ่ของโลก กลับมาจากประเทศอื่นๆ นอกสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก

      Facebook และ Twitter มีผู้ใช้จากนอกสหรัฐใกล้เคียงกันคือประมาณ 80% ส่วน Windows Live ของไมโครซอฟท์มีสัดส่วนถึง 90% ที่น่าสนใจคือ โซเชียลเน็ตเวิร์คจากนอกสหรัฐเองก็เริ่มมีผู้ใช้นอกประเทศของตัวเองมากขึ้น เช่น VKontakte ของรัสเซีย มีผู้ใช้ 43% ที่มาจากนอกรัสเซีย

6. โซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ใช่เป็นแค่โลกของคนรุ่นใหม่เท่านั้น ถึงแม้ในช่วงแรก กลุ่มผู้ใช้หลักของโซเชียลเน็ตเวิร์คจะเป็นเด็กและวัยรุ่น แต่ในรอบปีหลัง เราเห็นคนวัยทำงานเริ่มเข้ามา และยังมีกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้งานอย่างมีนัยยะสำคัญ


 สถิติที่น่าสนใจอีกอันคือ ประชากรผู้ใช้เน็ตกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ในหลายๆ ประเทศมีสัดส่วนการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่สูงมาก เช่น ในสหรัฐ ประชากรผู้ใช้เน็ตที่อายุเกิน 55 ปีจำนวนถึง 94.7% ระบุว่าตัวเองใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ส่วนตัวเลขของละตินอเมริกาอยู่ที่ 93%

7. คนรุ่นใหม่หันมาสื่อสารด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์คแทนอีเมลการสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คเริ่มมาแทนการสื่อสารแบบเดิมๆ ในโลกไอทีอย่างอีเมลและการส่งข้อความด่วน (instant messaging) โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับโลกดิจิทัล (digital native) ผลการสำรวจของ comScore ในกลุ่มผู้ใช้เน็ตอายุ 15-24 ปี พบว่าการใช้อีเมลลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ

8. โซเชียลเน็ตเวิร์คเริ่มยึดวงการโฆษณาออนไลน์ในสหรัสถิติของ comScore ระบุว่าตอนนี้วงการโฆษณาออนไลน์สหรัฐ แสดงโฆษณา 1 ใน 4 บนโซเชียลเน็ตเวิร์ค และ 5% ของโฆษณาทั้งหมดในโลกออนไลน์ของสหรัฐ มีความเป็น “โซเชียล” คือเชื่อมต่อกับเครือข่ายเฟซบุ๊กหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ

     อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คจะมีส่วนแบ่งในแง่ “จำนวนครั้ง” ของการโฆษณา แต่ในแง่ “จำนวนเงิน” ของโฆษณากลับยังดึงดูดได้ไม่เยอะเท่าใดนัก คือเพียง 15% ของเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์เท่านั้น (หมายเหตุ ไม่นับรวมโฆษณาผ่านระบบค้นหาแบบที่กูเกิลใช้)


9. ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า เว็บไหนจะดังต่อจาก FACEBOOKตอนนี้ชัดเจนแล้วว่า Facebook เป็นราชาแห่งโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คเต็มตัว สามารถเอาชนะคู่แข่งอื่นๆ และผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์แบบทิ้งห่าง แต่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีเว็บไซต์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ครายไหนเจริญรอยตาม Facebook ได้แบบเดียวกันบ้าง


ปี 2011 ยังเป็นปีที่เราได้เห็นการเปิดตัว Google+ ของกูเกิล ซึ่งมาแรงในช่วงแรก และมียอดสมาชิกแตะ 25 ล้านรายเร็วกว่าใคร (เร็วกว่า Facebook/Twitter ในอดีตมาก) อย่างไรก็ตาม เส้นทางของ Google+ ยังต้องสู้อีกยาวไกล กว่าจะขึ้นไปทาบรัศมี Facebook ในปัจจุบันได้

10. เทคโนโลยีมือถือจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโซเชียลเน็ตเวิร์ค  เทคโนโลยีมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กำลังเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการขับเคลื่อนการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยมีผู้ใช้ที่ระบุว่าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คบนมือถือมากขึ้นเรื่อยๆ  กลุ่มผู้ใช้มือถือ 64% ในสหรัฐ ตอบคำถามว่าใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คบนมือถือเป็นประจำทุกเดือน


ประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ก 
 1. Identity Network เผยแพร่ตัวตนใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ทสามารถสร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อน และสร้างเครือข่ายขึ้นมาได้
 2.Creative Network เผยแพร่ผลงาน สามารถนำเสนอผลงานของตัวเองได้ในรูปแบบของวีดีโอ ภาพ หรือเสียงเพลง
 3.Interested Network ความสนใจตรงกัน Del.icio.us เป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยเป็นการ Bookmark เว็บที่เราสนใจไว้บนอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งปันให้คนอื่นดูได้และยังสามารถ บอกความนิยมของเว็บไซด์ต่างๆได้ โดยการดูจากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ Digg นั้นคล้ายกับ del.icio.us แต่จะมีให้ลงคะแนนแต่ละเว็บไซด์ และมีการ Comment ในแต่ละเรื่อง Zickr ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย เป็นเว็บลักษณะเดียวกับ Digg แต่เป็นภาษาไทย
 4.Collaboration Network ร่วมกันทำงาน คือเป็นการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์หรือส่วนต่างๆของซอฟต์แวร์  WikiPedia เเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือจะแบ่งปันแผนที่ให้คนอื่นได้ใช้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหา
 5.Gaming/Virtual Reality โลกเสมือนสองตัวอย่างของโลกเสมือนนี้ มันก็คือเกมส์ออนไลน์นั่นเอง SecondLife เป็นโลกเสมือนจริง สามารถสร้างตัวละครโดยสมมุติให้เป็นตัวเราเองขึ้นมาได้ ใช้ชีวิตอยู่ในเกมส์ อยู่ในชุมชนเสมือน (Virtual Community) สามารถซื้อขายที่ดิน และหารายได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ได้
 6.Peer to Peer (P2P) P2P เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง Client (เครื่องผู้ใช้, เครื่องลูกข่าย) กับ Client โดยตรง โปรแกรม Skype จึงได้นำหลักการนี้มาใช้เป็นโปรแกรมสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต และก็มี BitTorrent เกิดขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว แต่ทว่ามันก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์
ประโยชน์โซเชียลเน็ตเวิร์ก
1. โซเชียลเน็ตเวิร์ก จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
 2. ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
 3. ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
 4. สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
 5. โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
 6. สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

  โทษโซเชียลเน็ตเวิร์ก

1. โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
 2. เพื่อน ทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
 3. โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
 4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
 5. เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
 6. ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ยังเด็ก
 7. โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
 8. นโยบาย ของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่

การใช้งานของโซเชียลเน็ตเวิร์ก 

รายการ Social Network ที่เรายกมาเป็นตัวอย่างนี้ เราคัดจาก Social Network ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป และ มีจุดเด่น เช่น เป็นของคนไทย เป็นต้น Bebo D-Looks Facebook Flickr Friendster Hi5 Multiply myFri3nd MySpace

  การใช้กับการเรียน 
            ทุกวันนี้คำว่า "เว็บไซต์ โซเชียล เน็ตเวิร์ก" หรือ "เครือข่ายสังคมออนไลน์" ไม่ใช่คำใหม่ในสังคมอีกแล้ว โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทำให้โลกปัจจุบันกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนไปแล้ว ทว่า การเข้ามาของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เป็นเสมือน "ดาบสองคม" ที่มีทั้งด้านดี และด้านเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเกิดโทษแก่ตัวเอง ในด้านการพัฒนาการศึกษาโดยอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน "โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้ครูผู้สอน และนักเรียนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเวลาที่อยู่ในห้องเรียน ดังเช่นที่ "คณะกรรมการด้านการศึกษา" ของรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐฯ เพิ่งจะมีมติไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ในการเห็นชอบที่จะกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม เกี่ยวกับการนำเอา "โชเชียล เน็ตเวิร์ก" มาใช้ในฐานะเครื่องมือการเรียนการสอน ยกตัวอย่างในกรณีของ "เฟชบุ๊ก" หรือ "มาย สเปช" เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม ซึ่งทางคณะกรรมการฯ เล็งเห็นว่า แทนที่บรรดาเด็กนักเรียนจะอาศัยเว็บไซต์เครือข่ายฯ เหล่านี้ ในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือใช้เป็นพื้นที่ในการบอกกล่าวความรู้สึกของตนต่อคนรอบข้างเพียงอย่าง เดียว แต่แอพลิเคชั่น หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเว็บไซต์เหล่านี้ ยังสามารถเชื่อมโยงพวกเขากับสถาบันการศึกษา หรืออาจารย์ผู้สอนได้ด้วย เช่น การสั่งรายงาน ส่งการบ้าน หรือแม้กระทั่งแจ้งเตือนเกี่ยวกับวันเวลาสอบ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การที่ครูเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ ได้เป็นหูเป็นตา ในการสอดส่องดูแลผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาศัยช่องทางการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน นี้ เข้ามาสร้างความเสียหาย หรือก่อภัยคุกคาม โดยเฉพาะอาชญากรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศแก่พวกเด็กๆ ได้ ดังที่มีข่าวครึกดครมอยู่บ่อยๆ กรณีของ "คิมิยะ ฮากิกิ" นักเรียนสาววัย 17 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับเกรด 11 ของโรงเรียนแลงเลย์ ไฮสคูล ก็อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยก่อนหน้านี้เธอมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนเช่นเดียวกับนักเรียนส่วนใหญ่ใน ชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ "อ.อูเบรย์ ลุดวิก" ทว่าครูผู้สอนของเธอได้แนะนำให้เธอ และเพื่อนในชั้นเรียนใช้ "ทวิตเตอร์" ส่งข้อความหากัน แล้วผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เมื่อปัญหาการเขียนที่เคยเยิ่นเย้อ และประณีตเกินไปก่อนหน้าได้รับการแก้ไข อันเป็นผลจากการ "ทวิต" ข้อความซึ่งมีการจำกัดอักขระอยู่ที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อครั้งเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น