วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้้เรื่องอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต : ความหมาย

              อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคําว่า InterconnectionNetwork หมายถึง"เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทัวโลกโดยใช้โปรโตคอล (Protocol )เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโตคอล


ชุดของกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลียนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครืองสามารถรับ-ส่ งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง

IPX/SPX
เป็นโปโตคอลทีใช้ในเครือข่ายทีใช้ระบบ
ปฏิบัตการ Netware


NetBIOS และ NetBEUI
เป็นโปรโตคอลทีบริษทไอบีเอ็ม พัฒนาร่วมกับ
บริษัทไมโครซอฟต์ใช้ในเครือข่ายทีใช้ระบบ
ปฏิบัตการWindows เวอร์่ชั่นต่างๆ


TCP/IP
เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้ กันอย่างแพร่หลาย
ในระบบอินเทอร์เน็ตและมีแนวโน้มว่า
จะถูกนํามาใช้ แทนโปรโตคอลอื่น

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  ทุกระบบ สามารถติดต่อสื่่อสารกันได้
ด้วยเกณฑ์มาตรฐานโปรโตคอล

อินเทอร์เน็ต : ประวัติ
         อินเตอร์ เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ.1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศอเมริกาจึงเริมพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารชื่อ ARPANET ขึ้น

            โดยออกแบบระบบให้ เหมือนร่างแหที่กระจายไปทั่วให้ั่มั่นใจว่าหากถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์เครือข่ายก็จะไม่ ถูกตัดขาด ยังมีทางส่งข้อมูลอ้อมไปได้
        เมื่อภาวะสงครามคลายลง

เครือข่ายอินเตอร์ เน็ตไม่มีความจําเป็นที่จะใช้เฉพาะเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไปเครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทัวโลกมีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาทีรวดเร็ว

         ค.ศ.1973(พ.ศ.2516)มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มอืน ๆอีกหลายเครือข่ายทังในยุโรปและอเมริกาเช่น


  • NSFNET (National Science Foundation Network)
  •  CSNET ( Computer Science Network)
  • EUNET (European Unix Network )
เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ “เครือข่ายของเครือข่าย”


อินเทอร์ เน็ตในประเทศไทย

          ปี พ.ศ.2529 
อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต  จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับ
อาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกันร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอาศัย


  •  โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
  •  เครืองคอมพิวเตอร์ พซี NEC
  • สายโทรศัพท์ ทองแดง
          ในปี พ.ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปทีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet (Thai Computer Science Network)มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละครั้งจ่ายค่าใช้จ่ายปีละ หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIIIซึงเป็นระบบปฏิบตการ UNIX ทีแพร่หลายในออสเตรเลีย(Australian Computer Science Network - ACSNet)นอกจากนีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ
UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไปสามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างกว้างขวาง
         ปัจจุบัน UUNetเป็น ISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีเครือข่ายทัวสหรัฐให้บริการ connection ตังแต่ Kbps ถึง Mbpsและยังเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรปเอเชีย และ ออสเตรเลียด้วยรวมๆ แล้ว UUNet บริการ Internet ถึง ประเทศ
           บริษท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย(Internet Thailand)โดยใช้ สายเช่าครึ่งวงจรขนาด Kbps ไปยัง UUNet เป็นผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
           พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ให้ กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้ เ่พิ่มจํานวนจนเป็น 18 บริษัท

การเ่ชื่อมต่ออินเทอร์ เน็ตในประเทศไทย
          อินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่ายใช้ คอมพิวเตอร์ ต่อผ่านโทรศัพท์ บ้านผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์ โทรฯเรียกเข้าศูนย์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือทีเรียกกันทัวไปว่า Dial Up คิดค่าบริการเป็นชัวโมง

การใช้โมเด็มโทรฯเรียกเข้าศูนย์บริการมีอตราการส่งข้อมูล ที 28.8 kbpsเนื่องจากว่าสายโทรศัพท์ ที่ทําจากลวดทองแดงมีคุณสมบัติให้สัญญาณทางไฟฟาทีมีความถีไม่เกินกิโลเฮิร์ซ หรือ กิโลบิตต่อวินาที

การเชือมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )
          เป็นวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้สายโทรศัพท์และติดต่อผ่านโมเด็ม(Modem)เพื่อติดต่อกัคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งโดยทั่วไปได้ แก่ ISP (Internet Service Provider)



  ส่วนประกอบของการเชื่อมต่อ
            1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC: Personnel computer)
            2. หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน
            3. โมเด็ม ( Modem )
            4. ชั่วโมงอินเทอร์ เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)




โมเด็ม (Modulator Demodulator : Modem)
มีหน้าทีแปลงสัญญาณข้อมูลจากดิจิทัลให้ เป็นอนาลอกและส่งผ่านสายโทรศัพท์ ไปยังปลายทาง ด้วยความเร็ว 56 Kbps ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าโทรศัพท์ ครั้งละ 3  บาทและค่าบริการอินเทอร์ เน็ตชัวโมงละประมาณ 3 - 12 บาท




           ปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ ถูกพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression)  สามารถส่งความเร็วได้ สูงถึง kbps ภายใต้ข้อจํากัดอัตราการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก

          ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายทองแดงเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Lineหรือ DSL พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายลวดทองแดงให้ เชื่อมต่ออินเทอร์ เน็ตความเร็วสูงได้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วได้ ตั้งแต่ Mbps จนกระทั่งถึง Mbps


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่ออืนๆ
         นอกจากนันยังมีการเชือมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line)
ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้ รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช.ให้ สามารถให้ บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้


         ต่อมาเทคโนโลยีไร้สายเริ่มแพร่หลายในวงการโทรคมนาคมโดยเ่ริ่มจากการใช้   WiFi  ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชือมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายนอกจากนันก็ยงมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม  iPSTAR  เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรก




และพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access(BWA) หรือชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้นWiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ






บริการอินเตอร์เน็ต Internet
          World Wide Web  เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 1989 โดยทิม เบอร์ เนอร์ ลี             นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จากห้องปฏิบัตการทางจุลภาคฟิสิกส์ แห่งยุโรปหรือ CERN (Conseil European

pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยใช้ตัวอักษรและภาพกราฟิก ข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมเีดียแสดงผลในรูปของ hypertext links
          บริการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่าย WWW (World Wide Web)WWW เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวกด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปของ Hypertext Links  ซึงเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารอื่นๆได้ อย่างสะดวก

          WWW จะอยู่ในลักษณะของมัลติมเีดีย  (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพ
เคลื่อนไหวผู้ใช้ สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายนี้ได้ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว
งานวิจัย  ข้อมูลสินค้  หรือบริการต่างๆสาระบันเทิงประเภทต่างๆ รวมถึงฟังเพลงและชมภาพยนตร์

โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser )

         โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ จะทํางานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบทีเรียกว่ า HTML (HyperText MarkupLanguage) มาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนาเสนอแก่ผู้ใช้

Microsoft Internet Explorer (IE)

       

        เป็นเว็บเบราว์ เซอร์ ที่กําลังได้รับความนิยมมากทีสุดผลิตโดย บริษท Microsoft มีประสิทธิภาพสูงเป็นโปรแกรมที่จัดให้ มาพร้อมกับระบบปฎิบตการ windows ตังแต่ windows 95 เป็นต้นไป









Plawan Browser
        พัฒนาโดยคนไทย สามารถใช้ งานได้ ดีในระดับเดียวกับเว็บบราวเซอร์ ชั้นแนวหน้าอื่นๆแต่ีมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนูการใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้









วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต


1. เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น e-mail chat และ  webboard


2. เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information)เป็นลักษณะของการใช้ งานสารสนเทศผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (www)



3. เพื่อความบันเทิง (entertainment) เช่น เว็บไซต์ บนเทิง เกมส์ คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง


4. เพื่อดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business) เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แสดงสินค้า
และให้บริการลูกค้า เป็นต้น

ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ตมีระดับดังนี้

  1. IP Address (Internet Protocol Address)
  2. DNS (Domain Name System)
  3. URL (Uniform Resource Locator)



1. IP Address  เป็นหมายเลขประจําเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นหมายเลขให้ คอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆเชื่อมโยงถึงได้ แต่หมายเลขจํายาก





2. Domain Name System  คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อทีสื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย


หน่ วยงาน

3. URL (Uniform Resource Locator)  เป็นหลักการกําหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้งาน
       Hyper Text Transport Protocol (HTTP) กฎเกณฑ์ การส่ งไฮเพอร์ เท็กซ์ (เอชทีทพ) มาตรฐานอินเทอร์ เนตที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวิลด์ ไวด์ เว็บโดยการกําหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน
รวมถึงแฟ้มที่เข้าถึงได้ในกฎเกณฑ์ การถ่ายโอนแฟ้ม (FileTransfer Protocol : FTP)
       กฎเกณฑ์ การส่งไฮเพอร์ เท็กซ์ให้ ผู้เขียนเว็บสามารถฝังจุดเชื่อมโยงหลายมิติ(hyperlink) ในเอกสารในเว็บได้ เมื่อคลิกแล้วจุดเชื่อมโยงจะเริ่มกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลซึ่งเข้าถึงและค้นคืนเอกสารให้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทําสิ่งใดโดยไม่ต้องทราบว่าเอกสารนั้นมาจากที่ใดหรือเข้าถึงได้อย่างไร
         ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ รูปแบบหนึ่งที่มีลกษณะเป็นภาษาในเชิงการบรรยายเอกสารแบบไฮเปอร์มเีดีย (hypermedia document description language)

วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

     *การเ่ชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ
     *การเชื่อมต่ อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )
     *ISDN (Integrated Services Digital Network)
     *ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
     *Cable Modem *Satellite *Leased Line
     *WiFi
    *WiMax *Air card


โปรแกรมค้นหา (Search Engine)

  • โปรแกรมค้ นหาแบบศัพท์ ดชนี (Index Search Engine)
  • โปรแกรมค้ นหาแบบศัพท์ อิสระ (Keyword Search Engine)
  • โปรแกรมค้ นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine)
  • บัญชีรายชือเว็บไซต์ (Web Directory)
โปรแกรมค้นหา (Search Engine)
          เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ โดยอัตโนมัติจากนั้นจึงนําเว็บเพจที่อ่านได้มาทําดัชนีเก็บไว้ในฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลหรือเว็บเพจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทําหน้าที่ค้นหาข้อมูลรูปภาพ หรือเว็บเพจ ในรูปแบบเท็กซ์หรืออื่นๆ
         เป็นโปรแกรมทีคอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากนั้นจึงนําเว็บเพจทีอ่านได้มาทําดัชนีเก็บไว้โดยอัตโนมัติเว็บไซต์ทำให้ บริการโปรแกรมค้นหาจะถูกเขียนขึนให้มีโปรแกรม
         ประเภทโรบอท(Robot) สไปเดอร์ (Spider) ครอเลอร์ (Crawler)ทําหน้าที่เข้าไปสํารวจในเว็บไซต์ ต่างๆ แล้วนําคําสําคัญที่มีในหน้านั้น ๆ มาทําเป็นดัชนีเพื่อส่ง URL ของเว็บนั้น ๆ มาแสดงให้ผู้ใช้ทราบ

โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ัดัชนี (Index Search Engine)
           เป็นโปรแกรมค้นหาที่ใช้โรบอท สไปเดอร์ หรือ ครอเลอร์ เข้าไปสํารวจข้อมูลในส่วนที่ผู้จดทำเว็บไซต์กาหนดให้เป็นคําค้นจากเอกสาร HTML ในเว็บต่ างๆ เพื่อนําคําเหล่านั้นมาจัดทําเป็น
ฐานข้อมูลที่ใช้สําหรับสืบค้นเหมาะกับผู้ใช้ทำต้องการค้นหาสารสนเทศด้วยศัพท์ดัชนีที่เป็น่ทีรู้จักแพร่ หลายตัวอย่างของโปรแกรมค้นหาทีใช้วิธีค้นหาแบบศัพท์ดัชนี ได้ แก่  www.lycos.com  www.hotbot.com เป็นต้น 
โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (Keyword Search Engine)
          เป็นโปรแกรมค้นหาทําหน้าที่เข้าไปอ่านหน้าของเอกสารของเว็บต่างๆแล้วนําคําสําคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละหน้ามาจัดทําเป็นฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้ ป้อนคําค้นโปรแกรมจะค้นคืนสารสนเทศจากคําหรือข้อความที่ตรงกับคําค้นนั้นๆ มาแสดงและลิงค์ไปถึงได้ผู้ใช้สามารถใช้คำ หรือวลี เพื่อใช้ เป็นคําค้นได้อสระโปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ ได้แก่  www.google.com www.altavista.com เป็นต้น

โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine)
          โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine)โปรแกรมประเภทนี้ไม่มีการจัดทําฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่ จะไปดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นๆ มาแสดงผล ตัวอย่างของโปรแกรมประเภท้ได้แก่ www.dogpile.com www.metacrawler.com

ค้่นจากบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ (Directory)
         โดยจะมีเจ้าหน้าที่คัดเลือกและพิจารณาจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์เหล่านั้นข้อดีก็คือ จะทําใหามารถเลือกเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีมารวบรวมไว้ได้  web ที่ให้บริการบัญชีรายชื่อเว็บไซต์  ได้แก่  www.yahoo.com www.looksmart.com   www.sanook.com www.hunsa.com



การค้นหาข้อมูลด้วย search engine  เทคนิคการค้นหาโดยใช้คำสําคัญ (keyword) หาโดย 
  1. คําสําคัญที่เป็นภาษาไทย
  2. คําสําคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ
  3. คําสําคัญที่มีทั้งภาษาปนกัน
1.) คําสําคัญที่เป็นภาษาไทยต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์คําสําคัญอันดับแรกก็คือนักคณิตศาสตร์แต่อาจดูกว้างไป และผลการค้นหาก็มากเกินไปหลายสิบหน้าดังนั้นจึงต้องจํากัดผลการค้นหาให้แคบลงเช่นต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีกคําสําคัญทีใช้ ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ และคําว่ากรีกจะได้ผลการค้นหาจํานวนน้อยลงง่ายที่เราจะเลือกลิงค์ที่ต้องการได้                                              ในกรณีที่คําสําคัญนั้นแสดงผลการค้นหาว่าไม่ พบข้อมูลที่ต้องการ ห้ลองเปลี่ยนคําสําคัญใหม่ ไปเรื่อยๆคําสําคัญควรระบุอย่างน้อยคําจะทําให้ผลการค้นหาแคบลงเท่าทีต้องการ

2.) คําสําคัญที่เป็นภาษาอังกฤษถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก  เป็นภาษาอังกฤษ คําสําคัญคําแรกอาจใช้  greek mathematician และถ้าใช้ เครืองหมาย “ ” คร่อมระหว่างคําสํ าคัญคู่ใดๆผลการค้นหาจะแตกต่างกัน  “greek mathematician”







3.) คําสําคัญที่เป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ เช่น ต้องการเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ไฟฟากระแส คําสําคัญที่ใช้ได้ เช่น
1) ไฟฟากระแสตรง “direct current”
2) “direct current” ไฟฟา กระแสตรง
3) “direct current” เนือหา  ฯลฯ

การใช้คำสําคัญในทางตรรกศาสตร์คําในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ ได้แก่  AND OR NOT  วิธีการใช้งานมีดังนี้
1. AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหา
ประกอบด้ วยคําสําคัญทีอยู่ตดกับคําว่า AND ทังสองคําเช่น “chemistry” AND “atomic theory”  หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลทีมีคาว่า  chemistry และคําว่า atomic theory ทั้ง คําอยู่ในเอกสารเดียวกัน
การใช้ คาสําคัญในทางตรรกศาสตร์

คําในวิชาตรรกศาสตร์ทใช้ได้แก่ AND OR NOT
2. OR ใช้เมื่อต้องการให้ ผลการค้นหาประกอบด้วยคําสําคัญตัวใดตัวหนึ่งทีอยู่ตดกับคําว่า OR เช่น “physics” OR “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า physics หรือ mechanics  คําใดคําหนึ่งก็ได้
การใช้คาสําคัญในทางตรรกศาสตร์

คําในวิชาตรรกศาสตร์ทีใช้ได้แก่ AND OR NOT
3. NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคําสําคัญที่อยูหน้าคําว่า NOT แต่ไม่ตองค้นหา
่คําที่อยูหลังคําว่า NOT เช่น mathematics NOT calculusหมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคาว่า mathematics แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus อยู่ด้วย


อินทราเน็ตต์ Intranet
        อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 
   

                อินทราเน็ตคืออะไร     ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
           
ประโยชน์อินทราเน็ต อินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้
2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย
3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ
4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง
5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้
             ในปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก


เอ็กซ์ทราเน็ต 
           ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน ลักษณะการทำงานจะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่นการดูแลจัดการสำนักงานของบริษัทแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อมักจะปิดกั้นเฉพาะภายใน แต่อาจมีการเปิดให้ผู้ใช้งานภายนอกเข้ามาใช้งานหรือแบ่งระดับการเข้าใช้ข้อมูลได้เช่นกัน



วิดิโอสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ต




แหล่งที่มา : http://torauk.freeservers.com/useinter.htm
                   http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1555

1 ความคิดเห็น:

  1. อาจสงบสุขของพระเจ้าอยู่กับคุณ
    คุณเป็นนักธุรกิจหรือหญิง? คุณอยู่ในใด ๆ
    ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินทุนเพื่อเริ่มต้นขึ้น
    ธุรกิจของคุณเอง?
    A) การขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
    B) ธุรกิจและการศึกษาเริ่มต้นขึ้น
    C) รวมหนี้
    D) เงินกู้คริสมาสต์
    ชื่อ: ..........................................
    ประเทศ: .........................................
    สถานที่ตั้ง: ..........................................
    สถานะ: .......................................
    เพศ: ................................................ ...
    อายุ ................................................. ....
    การกู้ยืมเงินที่ต้องใช้: .........................
    ระยะเวลากู้: ...................................
    หมายเลขโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล: .......................
    รายได้ต่อเดือน: .....................................
    ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
    อีเมล์: marycoleloanscompany3@gmail.com

    ตอบลบ